วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เอาอยู่! ( กิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันของสาวกโลกออนไลน์ไปแล้ว )

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ :  สมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เอาอยู่! ( กิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันของสาวกโลกออนไลน์ไปแล้ว )
ผู้เขียนบทความ  :  ASTV ผู้จัดการ
ที่มา  http://www.manager.co.th/
ผู้วิพากษ์บทความ   :   นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง :  จากบทความได้กล่าวถึงเรื่องสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เอาอยู่ ( กิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันของสาวกโลกออนไลน์ไปแล้ว ) ซึ่งมันเป็นไปแล้วในปัจจุบันแล้วสำหรับเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนในการตั้งชื่อเรื่องถือว่าไม่มีความกะทัดรัด ชื่อเรื่องถือว่ายาวจนเกินไป เพราะผู้อ่านเมื่อได้อ่านชื่อเรื่องแล้วอาจไม่ จะเข้าใจเพราะชื่อเรื่องยาวเกินไป ไม่กะทัดรัดโดยรวมแล้วถือว่าใช้ไม่ได้

วิพากษ์เนื้อหา  :  จากบทความนี้กล่าวว่าสมาร์ทโฟน เป็นโทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้มากมาย เหมือนเรายกคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Personal Digital Assistant) มาไว้ในโทรศัพท์ เพราะสามารถจดบันทึก จัดเก็บข้อมูลสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆ ได้ สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการรับส่งอีเมล์ นอกจากนี้ ยังรองรับไฟล์มัลติมีเดีย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ได้อีกด้วย
ข้อดี:   1. ใช้สื่อสารทางไกลสื่อสารรวดเร็ว
                2.สามารถทำได้เกือบทุกอย่างสื่อสารส่งข่าวสื่อสาร ถ่ายรูป ท่องเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง
                3.โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์สารพัดอย่างสะดวกสบายเยอะแยะไปหมด
ข้อเสีย: 1.ทำให้สังคมคุณแคบลง เพราะเมื่อคุณหลงทางคุณคงใช้สมาทโฟนหาเพื่อนมากกว่าจะถามคนข้าง ๆ ที่ไม่รู้จัก
                2.ทำให้เป็นภาระทางการเงินต้องมาใช้ค่าอินเตอร์เน็ต
สรุปบทความ : จากบทความกล่าวว่าสมาร์ทโฟน เป็นโทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้มากมาย เหมือนเรายกคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Personal Digital Assistant) มาไว้ในโทรศัพท์ เพราะสามารถจดบันทึก จัดเก็บข้อมูลสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆ ได้ สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และนี้ล่ะคือเหตุผลที่ทำไหมทุกคนหรือเด็กสมัยนี้ถึงต้องหันมาเล่นแต่สิ่งพวกนี้เพราะมันสามารถสื่อถึงโลกภายนอกได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วต่อความต้องการของผู้ใช้งานด้วย



ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ   :  ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์
ผู้เขียนบทความ   :  พรพิสุทธิ์  มงคลวนิช
ที่มา   www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ  :    นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง  :   จากชื่อบทความชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์ สื่อถึงการใช้โทรศัพท์หรือการใช้สมาร์โฟนต่างให้เป็นในการใชชีวิตประจำวัน ในการตั้งชื่อเรื่องถือว่ามีความกะทัดรัด ชื่อเรื่องถือว่าไม่ยาวจนเกินไป เพราะผู้อ่านเมื่อได้อ่านชื่อเรื่องแล้ว จะเข้าใจเพราะชื่อเรื่องไม่ยาวเกินไป กะทัดรัดโดยรวมแล้วถือว่าใช้ไม่ได้

วิพากษ์เนื้อหา  : จากเนื้อหา เนื่องจากครอบครัวในสังคมไทยมีอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในครอบครองกันมากขึ้น ทำให้สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กในยุคนี้จึงเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกจากการเล่นสมาร์ท โฟนของพ่อแม่หรือของตนเอง
อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ที่อนุญาตให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนได้ ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกว่า มีอาการเด็กติดสมาร์ทโฟนหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที

สรุปบทความ  :   พบสัญญาณที่มาจากเด็กติดสมาร์ทโฟนเด็กที่ใช้สมาร์ทโฟนมีอาการตื่นสายและอาการอ่อนเพลียในตอนเช้าเด็กหมดความสนใจในกิจกรรมรอบตัว สนใจแต่เล่นสมาร์ทโฟน เมื่อพ่อแม่ชวนเด็กให้ไปร่วมกิจกรรมอย่างเช่น กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กไม่อยากไป แม้แต่การชมภาพยนตร์ในโรงหนัง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ห้ามใช้อุปกรณ์ดัง กล่าว ดังนั้นจากบทความนี้จึงกล่าวถึงพฤติกรรมของเด็กสมัยใหม่ที่สนใจสมาร์ทโฟสมากกว่ากิจกรรมในครอบครัวจึงเกิดปัญหาให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลาย



กลไกการตรวจจับและป้องกันการจู่โจมเว็บแอพพลิเคชัน รูปแบบใหม่โดยการบังคับใช้เอชทีทีพีเอส

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ : กลไกการตรวจจับและป้องกันการจู่โจมเว็บแอพพลิเคชัน รูปแบบใหม่โดยการบังคับใช้เอชทีทีพีเอส
ผู้เขียนบทความ : สมนึก พ่วงพรพิทักษ์ , ณัฐวุฒิ ศรีวิบูลย์
ที่มา   http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ผู้วิพากษ์บทความ   นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง : บทความนี้ได้ตั้งชื่อเรื่อว่ากลไกการตรวจจับและป้องกันการจู่โจมเว็บแอพพลิเคชันรูปแบบใหม่โดยการบังคับใช้เอชทีทีพีเอส ในการตั้งชื่อเรื่องถือว่าไม่มีความกะทัดรัด ชื่อเรื่องถือว่ายาวจนเกินไป เพราะผู้อ่านเมื่อได้อ่านชื่อเรื่องแล้ว จะไม่เข้าใจเพราะชื่อเรื่องยาวเกินไป ไม่กะทัดรัดโดยรวมแล้วถือว่าใช้ไม่ได้

วิพากษ์เนื้อหาจากที่ได้อ่านดูแล้ว บทความนี้ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกลไกการตรวจจับและป้องกันการจู่โจมเว็บแอพพลิเคชันรูปแบบใหม่โดยการบังคับใช้เอชทีทีพีเอส  ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลที่มั่นคงเพื่อป้องกันเว็บแอพพลิเคชันจากการโจมตีดักจับข้อมูลการจู่โจมแบบเล่นซ้ำคุ้กกี้และการจู่โจมแบบ Sidejacking เพื่อดักจับข้อมูลคุ้กกี้รวมถึงหมายเลขระบุการสื่อสารแล้วส่งซ้ำไปยังเว็ปเซิร์ฟเวอร์ ผู้โจมตีสามารถเข้าใช้งานระบบเว็บไซต์โดยถึงสิทธิ์เป็นเหยื่อและสามารถจัดการข้อมูลในระบบเว็บไซต์ได้เทียบเท่ากับเหยื่อทุกประการ

สรุปบทความ : บทความชุดนี้จากที่ได้อ่านสุรปได้ว่ากลไกการตรวจจับและป้องกันการจู่โจมเว็บแอพพลิเคชันรูปแบบใหม่โดยการบังคับใช้เอชทีทีพีเอส จากการโจมตีระบบเว็บไซต์ด้วยวิธี MITM ที่สามารถดักจับข้อมูลในการสื่อสารเช่นข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่านในขั้นตอนที่เหยื่อเข้าใช้งานระบบบนโพรโทคอล HTTPแต่ในการทำงานของระบบเว็บไซต์ยังมีข้อมูลสำคัญอื่นๆที่ใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบโดยหลังจากที่ไคลเอนต์ตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้งานระบบด้วยการส่งชื่อบัญชีผู้ใช้ และวิธีการจู่โจมแบบ Sidejacking เพื่อดักจับข้อมูลคุ้กกี้รวมถึงหมายเลขระบุการสื่อสารแล้ว ส่งซ้ำไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผู้โจมตีสามารถเข้าใช้งานระบบเว็บไซต์โดยถือสิทธิ์เป็นเหยื่อและสามารถจัดการข้อมูลในระบบเว็บไซต์ได้เทียบเท่ากับเหยื่อทุกประการ

โปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ตสำหรับสร้างหนังสือนิทาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ  : โปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ตสำหรับสร้างหนังสือนิทาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก
ผู้เขียนบทความ  :  ศศิธร อารยะพูนพงศ์ , และ ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล
ที่มา  www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ  นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง  : ชื่อเรื่องของบทความนี้เมื่อได้อ่านแล้วสื่อถึงโปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ตสำหรับสร้างหนังสือนิทาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก ซึ่งผู้เขียนนั้นตั้งใจที่จะสื่อถึงการพัฒนาการส่งเสริมของเด็กผู้อ่านสามารถอ่านเข้าใจง่ายรู้ถึงเนื้อหาข้างในได้ดีจากการอ่านชื่อเรื่องนี้

วิพากษ์เนื้อหา : สำหรับเนื้อหาของบทความนี้ผู้เขียนได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ โปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ตสำหรับสร้างหนังสือนิทาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย นิทาน การแต่งนิทาน การสร้างนิทานด้วย โปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งสื่อถึงการพัฒนาการเรียนสอนสอนสำหรับเด็กให้มีความคิดมากยิ่งขึ้น เนื้อหามีความเข้าใจดีมีความเหมาะสมเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างมาก


สรุปบทความ : บทความนี้จากที่ได้อ่านแล้วสรุปได้ว่าเป็นโปรแกรมประยุกต์บนแท็บเล็ตสำหรับ สร้างหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก เป็นการออกแบบคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดียเพื่อออกแบบ  ให้เป็นทางเลือกใหม่ของการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนำแท็บเล็ตมาใช้ในการสร้างหนังสือนิทานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย์มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในอนาคตต่อไป

ดาวน์โหลดบทความ



แอพพลิเคชั่นเกมเสริมทักษะทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ แอพพลิเคชั่นเกมเสริมทักษะทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ผู้เขียนบทความอัฐพรพงศ์ ผัดผล และ ศิวดล เสถียรพัฒนากูล
ที่มา  http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ผู้วิพากษ์บทความ  :  นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง : จากชื่อเรื่องกล่าวถึงแอพพลิเคชั่นเกมเสริมทักษะทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นการพัฒนาและส่งเสริมแอพพลิเคชันซึ่งสื่อถึงว่าผู้เขียนต้องการเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพราะผู้เขียนได้ตั้งชื่อเรื่องให้มีความครอบคลุมกับเนื้อหาที่เขียน โดยภาพรวมแล้วชื่อเรื่องมีความเหมาะสมพอสมควรและมีความเข้าใจต่อเนื้อหาข้างในอีกด้วย

วิพากษ์เนื้อหา : จากแอพพลิเคชั่นเกมเสริมทักษะทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นี้ เป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายในการเชื่อมต่อ เพื่อดึงข้อมูลต่างๆเพื่อมาประกอบการทำงานในแอพพลิเคชั้น เพื่อให้ผู้เล่นใช้งานได้ ผู้เล่นจะทดลองฝึกทักษะ ทางด้านการมองภาพฉาย เนื่องจากแอพพลิเคชั่น ที่พัฒนาได้ถูกออกแบบให้มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ client-server เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องและหน่วยความจำ และต้องการให้เกมมีการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้ผ่าน Server

สรุปบทความ   :     จากการอ่านบทความสื่อให้เห็นว่าแอพพลิเคชั่นเกมเสริมทักษะทางด้านเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นบนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นี้ มีความจำเป็นในการใช้งานจำเป็นต้องอาศัย เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายในการเชื่อมต่อ เพื่อดึงข้อมูลต่างๆเพื่อมาประกอบการทางานในแอพพลิเคชั้น เพื่อให้ผู้เล่นใช้งานได้ ผู้เล่นจะทดลองฝึกทักษะ ทางด้านการมองภาพฉายได้ การทางานของระบบนั้นจะเรียกใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น บนโทรศัพท์ Smart Phone ระบบปฏิบัติการ Android มีการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้มาก



แอพพลิเคชั่นชุดตรวจวัดกระแสสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ : แอพพลิเคชั่นชุดตรวจวัดกระแสสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ผู้เขียนบทความ : ดำรง จีนขาวขำ , สุขสันติ์ หวังสถิตย์วงษ์ , อนันต์ เวทย์วัฒนะ
ที่มา  http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ผู้วิพากษ์บทความ   :  นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่องชื่อเรื่องของบทความนี้เมื่อได้อ่านโดยรวมแล้วถือว่าใช้ได้ ผู้เขียนสามารถตั้งชื่อเรื่องให้มีความกะทัดรัด ไม่ยาวจนเกินไป ผู้อ่านเมื่อได้อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย ว่าผู้เขียนต้องการเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพราะผู้เขียนได้ตั้งชื่อเรื่องให้มีความครอบคลุมกับเนื้อหาที่เขียน โดยภาพรวมแล้วชื่อเรื่องมีความเหมาะสมพอสมควร

วิพากษ์เนื้อหา : สำหรับเนื้อหาของบทความนี้ผู้เขียนได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับชุดตรวจวัดกระแสสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ซึ่งเป็นงานอิเล็กทรอนิกส์กำลังด้วยความถี่ย่านต่างๆ ที่กระแสไม่เกิน 10 A เป็นชุดตรวจวัดกระแสสำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์กำลังแบบใหม่ึ่งผลิตเองได้และสามารถวัดได้ทั้งรูปคลื่นไซน์และไม่ใช่รูปคลื่นไซน์ด้วยความถี่ 50 Hz และความถี่ย่านต่างๆ ตั้งแต่ 1 kHz – 20 kHzโดยหลักการของชุดตรวจวัดกระแสที่ความถี่ 50 Hzจะใช้ขดลวดพันบนแกนเหล็ก C-core และชุดตรวจวัดกระแสที่ความถี่ 1 kHz – 20 kHz ได้ใช้ขดลวดพันบนแกนเฟอไรต์รูปทอรอยด์ (Toroid) แบบปิด


สรุปบทความ : บทความนี้จากที่ได้อ่านแล้วสรุปได้ว่านการตรวจสอบความถูกต้องของงานอิเล็กทรอนิกส์กำลังส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการวัดกระแสเพื่อจะได้ควบคุมการทำงานของวงจรได้ถูกต้อง และกระแสที่วัดได้นี้มักจะไม่ใช่รูปคลื่นไซน์โดยสมบูรณ์และความถี่ที่ใช้ไม่ใช่ 50 Hz ดังนั้นการวัดจึงจำเป็นต้องใช้ตัวทรานสดิวเซอร์หรือตัวตรวจจับ (sensor) ที่สามารถตอบสนองความถี่ได้กว้าง สำหรับในปัจจุบันตัวตรวจจับดังกล่าว ได้แก่ตัวตรวจวัดกระแสแบบฮอลล์ ซึ่งจะมีความสะดวกต่อการใช้มากและสามารถตอบสนองต่อย่านความถี่ได้กว้าง รวมทั้งได้ค่าเอาต์พุตเป็นแรงดัน แต่ข้อเสียคือ ราคาค่อนข้างแพงและเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ภายในประเทศดังนั้น จึงต้องนำเข้า

แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ  :  แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น
ผู้เขียนบทความสุชาดาพลาชัยภิรมย์ศิล
ที่มา  www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ  :   นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง : ในการใช้ชื่อเรื่องว่า แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นถือว่าใช้ได้เพราะผู้เขียนได้ตั้งชื่อเรื่องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองได้เขียน ทำให้ผู้อ่านเมื่อได้อ่านก็สามารถรู้ได้ว่าเนื้อหาข้างในผู้เขียนได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างจึงมีความเหมาะสมเกี่ยวกับชื่อเรื่องนี้
วิพากษ์เนื้อหา  : เนื้อหาในบทความนี้เป็นการเขียนเรื่องเกี่ยวกับ แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีประโยชน์มากมายหลายอย่างในตัวและยังสามารถใช้งานได้ในทุกกิจกรรมอีกด้วยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆให้เกี่ยวเนื่องต่อความต้องการใช้
ข้อดี :
 1.โอนเงินผ่านโทศัพท์เคลื่อนที่เป็นช่องทางที่สะดวก ประหยัดและรวดเร็ว
2. การสืบค้นผ่านอุปกรณ์สื่อสาร จุดประสงค์หลักของบริการนี้ก็เพื่อส่งเสริมการขายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
3. การใช้เว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที
4. การโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ
ข้อเสีย : การมีบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มาทำให้เราสบายแต่อนาคตก็จะทำให้เราขี้เกียจและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและถ้าวันหนึ่งไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตแล้วเราจะไม่สามารถใช้บริการต่าง ๆได้
สรุปบทความ : โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้กระแสความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากความสามารถของ ตัวเครื่องที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ ปฏิบัติการ (OS) หรือแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่คิดค้นเพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้ในยุคปัจจุบัน ประกอบกับสามารถ ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือซื้อขาย ผ่านทางระบบเครือข่าย และมีความสะดวก รวดเร็ว และในอนาคตข้างหน้านี้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้ม การใช้แอพพลิเคชั่นมากขึ้น อันเป็นมาจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ช่วยให้ผู้ใช้ทำกิจกรรมได้มากมาย



การพัฒนาแอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ  :  การพัฒนาแอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่
ผู้เขียนบทความ  :  ประกายรัตน์ สุวรรณ
ที่มา  www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ  นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่องในการใช้ชื่อเรื่องว่า การพัฒนาแอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือว่าใช้ได้เพราะผู้เขียนได้ตั้งชื่อเรื่องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองได้เขียน จึงทำให้ผู้อ่านเมื่อได้อ่านชื่อเรื่องแล้วก็สามารถรู้ได้ว่าเนื้อหาข้างในผู้เขียนได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร
วิพากษ์เนื้อหา : เนื้อหาในบทความนี้เป็นการเขียนเรื่องเกี่ยวกับ แอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และติดต่อสื่อสารกับผู้สอนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น Smart  phone, iPad หรือ Android tablet เป็นต้น

สรุปบทความ แอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในการพัฒนาแอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนทีรองรับระบบปฏิบัติการAndroid และ iOSความนิยมแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆประกอบนักศึกษาหรือผู้เรียนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันจานวนมากจากผลการดาเนินการ พบว่าผู้เรียนให้ความสนใจในการใช้งาน สามารถทบทวนรายวิชาที่เรียน ติดตามข่าวสาร และศึกษาความรู้อื่นๆ ได้


แท็บเล็ตสื่อยอดนิยมในยุคการเรียนแบบไฮบริด

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ :  แท็บเล็ตสื่อยอดนิยมในยุคการเรียนแบบไฮบริด
ผู้เขียนบทความ :  สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล ,  เยาวภา พรพิริยล้ำเลิศ
ที่มา :  www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ :  นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง : จากชื่อเรื่องกล่าวถึงแท็บเล็ตสื่อยอดนิยมในยุคการเรียนแบบไฮบริดซึ่งมีความหมายที่เหมาะสมและสามารถอธิบายถึงแนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในการเรียนได้ดียิ่งขึน
วิพากษ์เนื้อหา : การเรียนการสอนแบบเดิมกับการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งนั้นมีความแตกต่างกันมากซึ่งการใช้สื่อการเรียนแบบนี้มีความทันสมัยมากในโลกของปัจจุของนักเรียนซึ่งสามารถศึกษาหาข้อมูลจากโลกภายนอกได้อีกด้วยและผู้เรียนสามารถมีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นจึงมีความเหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนแบบเดิมกับการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่ง
สรุปบทความ : การเรียนรู้ทางด้านการศึกษา ของเด็กไทยเมื่อไม่นานมานี้ และการผสมผสานการเรียนการสอนแบบเดิมกับการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งของสถานศึกษาจำนวนมากที่ได้ใช้ แสดงให้เห็นถึงระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริดมาในใช้ ในสถาบันของตนในอนาคต ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้จะต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยตัว ผู้เรียนเองจะต้องมีอุปกรณ์สื่อสารเพื่อเข้าเรียนออนไลน์ ประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย และข้อดีอีกหลายประการจากการใช้แท็บเล็ต ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ แท็บเล็ตจะกลายเป็นอุปกรณ์สื่อกลางยอดนิยมของผู้เรียนในยุคการเรียนการสอนแบบไฮบริด

ดาวน์โหลดบทความ

การพัฒนาแอพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร จังหวัดลำพูน

วิพากษ์บทความ
ชื่อบทความ : การพัฒนาแอพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร จังหวัดลำพูน
ผู้เขียนบทความ :  ดาราวรรณ นนทวาสีดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์  ,  ดร.เอกสิทธิ์ เทียมแก้ว
ที่มา   www.google.co.th
ผู้วิพากษ์บทความ  : นางสาว ทัศนีย์  วงษ์พล
วิพากษ์ชื่อเรื่อง  : จากชื่อเรื่องกล่าวถึง แอพพลิเคชั่น ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ซึ่งมีความหมายที่เหมาะสมและสามารถอธิบายถึงแนวคิดในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
วิพากษ์เนื้อหา : จากเนื้อหาและบทความการศึกษาองค์ประกอบของแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในกรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร โดยผู้วิจัยได้ทำการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อและเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 ท่าน พบว่าองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การใช้งานแอพพลิเคชั่น , การออกแบบการแสดงผลแอพพลิเคชั่น และ รูปแบบการนำเสนอภาพและเสียง  คิดว่าองค์ประกอบทั้งสามนี้ครอบคลุมเพราะแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นประสิทธิภาพเท่ากับ 85.47/85.52 ซึ่งเป็นไปจามเกณฑ์ที่กำหนดและจากการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้

สรุปบทความ : สรุปได้ว่าการนำ แอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในชั้นเรียนได้ผู้เรียนก็จะเกิดความสุขในการเรียนและส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ มากยิ่งขึ้น